จัดฟันบางนา: การปลูกกระดูกเพื่อฝังรากฟันเทียม ควรใช้กระดูกประเภทใด ?การรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียม เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ในการทดแทนฟันธรรมชาติ หลายคนคงประสบกันปัญหาของการสูญเสียฟันธรรมชาติไป ซึ่งการสูญเสียฟันเกิดขึ้นได้จากหลายกรณีไม่ว่าจะเป็นการถอนฟัน หรือการเกิดฟันผุหรือมีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันจนทำให้เกิดการสูญเสียฟันธรรมชาติไป ซึ่งปัญหาการสูญเสียฟันนั้น ถือเป็นอุปสรรคและเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันมาก จึงทำให้หลายคนใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมมาก ซึ่งเมื่อก่อนนั้น การรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวนั้น ยังไม่เป็นที่นิยมมาก เนื่องจากยังมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการรักษา และเกิดปัญหาการรักษาท่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก พอมาถึงปัจจุบันในวงการทันตกรรมมีนวัตกรรมเข้ามาค่อนข้างเยอะ ทำให้ผลการรักษามีความแม่นยำและมีผลการรักษาที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น จึงทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาการสูญเสียฟัน และเกิดช่องว่างระหว่างฟัน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ เลือกวิธีการรักษาด้วยการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม
อย่างไรก็ตามื การเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น ผู้ทำการรักษาจะต้องมีสุขภาพช่องปากโดยรวมที่ดี โดยทันตแพทย์จะทำการพิจารณาการรักษาของแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลนั้นมีสภาพช่องปากและรูปแบบของปัญหาที่แตกต่างกันอยู่แล้ว โดยปัจจัยแรกที่ทันตแพทย์จะทำการพิจารณา ก็คือสุขภาพฟัน รวมไปถึงความแข็งแรงและความพร้อมของกระดูกขากรรไกของผู้เข้ารับการรักษา หากผู้ทำการรักษามีกระดูกขากรรไกรที่ไม่แข็งแรง ก็จะไม่สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมได้ แต่ในกรณีดังกล่าวนี้ ทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาอาจจะใช้วิธีการปลูกกระดูกฟันเพื่อให้มีความพร้อมในการรักษามากขึ้น
ซึ่งการการปลูกกระดูกฟันนั้น คือการทดแทนกระดูกฟันที่สูญเสียไป เพราะบางครั้งกระดูกฟันอาจจะละลายหรือมีกระดูกฟันที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับรากฟันเทียม โดยทันตแพทย์จะทำการปลูกกระดูก ซึ่งอาจจะนำกระดูกของส่วนต่างๆของร่างกายเรา ไปทดแทนหรือบางครั้งอาจจะใช้กระดูกเทียมชนิดต่างๆ เหตุผลที่ผู้เข้ารับการรักษาที่มีกระดูกขากรรไกรที่ไม่พร้อมจะต้องทำการปลูกกระดูกคือ โดยปกติแล้วฟันเราจะฝังอยู่ในกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการถอนฟันเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม หรือมีการสูญเสียฟันธรรมชาติ กระดูกจะมีการ re-modeling หรือการเพิ่มพูนและสลายเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยทั่วไปจะมีการสลายของกระดูกเบ้าฟันมากกว่า
และหากปล่อยไว้นานๆ กระดูกบริเวณที่ถอนฟันหรือสูญเสียฟันธรรมชาติไปแล้วนั้น จะฝ่อตัวหรือยุบตัวลงไปเรื่อยๆ นั่นเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมจึงต้องมีการปลูกกระดูกเยอะน้อยแตกต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถอนฟันหรือการสูญเสียฟันไปนั่นเอง และยังขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งการปลูกกระดูกฟันนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากผู้เข้ารับการรักษามีสภาพกระดูกที่ไม่พร้อม ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมมีการประสบความสำเร็จในการรักษามากยิ่งขึ้น
สำหรับชนิดของกระดูกที่จะใช้มาทดแทน ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถทำให้เราสรรหากระดูกที่นำมาทดแทนได้อย่างหลากหลายนั่นก็คือ กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง โดยทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดเก็บกระดูกจากบริเวณอื่นของคนผู้เข้ารับการรักษาเอง มาปลูกในส่วนที่จะฝังรากฟันเทียม ข้อดีคือ เป็นกระดูกของผู้เข้ารับการรักษา จะมีเซลล์ของตัวเอง สามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของผู้เข้ารับการรักษาแน่นอน แต่ข้อเสียคือผู้เข้ารับการรักษาอาจจะมีแผลหลายตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งที่นิยมเก็บมา ก็คือกระดูกขากรรไกรบริเวณฟันคุด และคาง เป็นต้น
ต่อมากระดูกจากสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน ซึ่งจะนำมาผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อ และสเตอร์ไรด์อย่างดี เหมาะสำหรับผู้เข้ารับการรักษาที่กลัวจะเกิดแผลจากการนำกระดุกมาใช้ทดแทน และสุดท้ายกระดูกจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นกระดูกจากสัตว์อื่นๆจะนำมาผ่านกรรมวิธีปลอดเชื้อ และเนื่องด้วยกรรมวิธียุ่งยากขึ้นจึงทำให้ราคาของกระดูกชนิดนี้สูงขึ้นตามไปด้วย แต่ข้อดีก็คือ กระดูกชนิดนี้จะละลายหายไปช้า ทำให้เป็นตัวเลือกแรกๆของหมอที่จะทำการปลูกกระดูกหากจะต้องปลูกในปริมาณเยอะๆ เพื่อคงปริมาณของกระดูกที่ปลูกไว้ให้ได้นาน จนกว่ากระดูกจริงของผู้เข้ารับการรักษาจะสร้างขึ้น แต่ถ้าหากจะนำมาทดแทนกระดูกฟันนั้น การใช้กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง จะเป็นการปลูกกระดูกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะจะสามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของเราได้ดีกว่า